1. กําหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่ง กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิต อนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จํานวน 10 ห้องเรียน
1.2 การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชาย–หญิง อายุระหว่าง5–6ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิต อนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้อง เรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยคัดเลือกเด็กทที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้การวิจัย
2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่
2.1.1 แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.1.2 แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
สรุปผลการวิจัย
1. เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจําแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจําแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จํานวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจํานวน 1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
2.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01